7 ผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณ “พักผ่อนไม่เพียงพอ”

|
193

เป็นที่ทราบดีว่าการ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการ นอนน้อย อาจทำให้คุณมีอารมณ์แปรปรวนไปตลอดทั้งวัน หากคุณอดนอนบ่อยๆ อาจส่งผลกับชีวิตหลายด้าน เช่น ทางเพศ ความจำ สุขภาพ หรือแม้แต่ความสามารถในการลดน้ำหนัก ซึ่งผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณพักผ่อนไม่เพียงพอมีดังนี้

1. การอดนอนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

ผู้ที่อดนอน หรือนอนน้อยมักจะมีอาการง่วงซึม การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ช้าลง การตัดสินใจช้าลง และไม่แม่นยำเท่าที่ควร จนอาจจะส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บระหว่างขับขี่ยานพาหนะหรือทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

2. ประสิทธิภาพการคิดลดลง 

การพักผ่อนให้เพียงพอมีบทบาทสำคัญในการคิดและการเรียนรู้ เมื่อขาดการพักผ่อน ร่างกายจะมีความตื่นตัวน้อยลง จะทำให้ความสามารถในการใช้เหตุผล สมาธิในการทำสิ่งต่างๆ รวมถึงทักษะในการแก้ไขปัญหา ทำให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยากขึ้น

sleep-less

3. อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงหรือโรคต่างๆ

ความผิดปกติของการนอนหลับและการการอดนอนเป็นประจำอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ, หัวใจวาย, หัวใจล้มเหลว, หัวใจเต้นผิดปกติ, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน เป็นต้น

4. ความต้องการทางเพศลดลง

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับกล่าวว่าชายและหญิงที่อดนอนพบว่า การอดนอนทำให้ฮอร์โมนในร่างกายสูญเสียความสมดุล จนทำให้ความต้องการทางเพศลดลงในที่สุด

5. ขี้ลืม

ขณะนอนหลับ เซลล์ประสาทของสมองจะได้พักและเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ ในวันต่อๆ ไป หากนอนน้อย อดหลับอดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความจำของเราได้ทำให้หลงๆ ลืมๆได้

sleep-less-3

6. น้ำหนักเพิ่ม

จากงานวิจัยพบว่าคนที่นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสเป็นโรคอ้วนมากกว่าคนที่นอน 7-9 ชั่วโมงเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ การพักผ่อนไม่เพียงแต่จะกระตุ้นความอยากอาหารเท่านั้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นความอยากอาหารที่มีไขมันสูงและคาร์โบไฮเดรตสูง ทำให้ระบบเผาผลาญภายในร่างกายของเรารวน ผลที่ตามมาคือ แม้ว่าจะทานเท่าเดิม แต่ร่างกายกลับเผาผลาญพลังงานได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้อ้วนและน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นได้ง่าย

7. มีอารมณ์แปรปรวน

การอดนอนจะเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้า เหนื่อยล้า และขาดความเห็นใจผู้อื่น อาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดทางพัฒนาการด้านอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีอาการเหล่านี้อยู่แล้ว การนอนไม่พอจะทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น

sleep-less-1

ที่มา: webmd